กระเทียม กับประโยชน์เพื่อสุขภาพ

กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ www.getgiffgive.com

กระเทียม สมุนไพรทางเลือกในการรักษาและสมุนไพรเสริมสุขภาพ กระเทียมเป็นเครื่องสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด และยังเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย กระเทียม ถือเป็นพืชตระกูลเดียวกับหัวหอมซึ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย มีคุณสมบัติหลากหลาย ทำอาหารก็อร่อย รวมถึงได้รับการพิสูจน์แล้วว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น กระเทียมเสริมอาหาร กระเทียมสกัดผง สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมดอง เป็นต้น
สรรพคุณของกระเทียม
– ปกป้องตับจากสารพิษ
– ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
– ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
– ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
– ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
– ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
– ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
– ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
– ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
– มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
– ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
– ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
– ช่วยแก้อาการหอบ หืด
– ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
– ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
– ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
– ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
– ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
– ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
– บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
– บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
– ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร

กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ www.getgiffgive.com

ทำไมต้องกระเทียม
กระเทียมเป็นที่รู้จักกันมาเกือบ 5,000 ปีแล้ว เป็นทั้งเครื่องเทศและสมุนไพร อาหารไทยจำนวนมากก็ต้องใช้กระเทียมเป็นส่วนประกอบสำคัญ ประเทศอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คุณสมบัติของกระเทียมคือ เพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อย เข้มข้นมากขึ้น กลิ่นหอม นอกจากนี้ กระเทียมยังถือว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย บรรเทาอาการและรักษาโรคได้หลากหลาย กระเทียมมีสรรพคุณในการช่วยขับลม เสริมภูมิต้านทานของร่างกาย สามารถฆ่าเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคบิด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับเสมหะ แก้หวัด รวมไปถึงช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดโคเลสเตอรอล ไขมัน และน้ำตาลในเลือด
กระเทียมยังประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินซี วิตามินบี แคลเซียม แมงกานีส รวมถึงซีลีเนียม และแอนตี้ออกซิแดนท์หรือที่เรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญกระเทียมยังมีสารประกอบของกำมะถันที่ชื่อว่า อัลลิซิน ซึ่งช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง งานวิจัยของสหรัฐฯ ทำการวิจัยในหญิงวัยกลางคนจำนวน 40,000 กว่าคน พบว่าหญิงที่รับประทานกระเทียม ผักและผลไม้เป็นประจำ มีแนวโน้มที่จะลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ นักวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมว่าเราควรรับประทานกระเทียมวันละเท่าไหร่ และผลที่ได้ก็คือ 2-5 กลีบต่อวัน และควรรับประทานกระเทียมสดๆ เพราะจะให้ประโยชน์ได้ดีกว่ากระเทียมที่ผ่านความร้อนแล้ว

กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ www.getgiffgive.com

เลือกกระเทียมอย่างไรดี
เลือกกระเทียมที่สด ใหม่ เนื้อแน่น ไม่มีเชื้อรา ไม่นิ่ม ไม่ฝ่อ ยิ่งกระเทียมแน่นแข็งเท่าไหร่ ยิ่งแปลว่าสดใหม่เท่านั้น
วิธีเก็บกระเทียมให้สดใหม่
ถ้าอยากให้กระเทียมสดใหม่อยู่นานๆ ไม่เน่าเสียเร็ว แนะนำให้เก็บในที่แห้งสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี จะทำให้เก็บไว้ได้นาน หรือแขวนให้ลมโกรกในที่โล่งโปร่งก็ได้ จะทำให้กระเทียมไม่ฝ่อ เมื่อบดหรือลอกเปลือกแล้ว กระเทียมสามารถเก็บได้อีกประมาณ 3-4 วัน ในตู้เย็น
เคล็ดลับดับกลิ่นกระเทียม
เมื่อทานเมนูที่มีกระเทียมแล้ว หลายคนคงกังวลกับกลิ่นกระเทียมที่ติดในปาก เคล็ดลับดับกลิ่นกระเทียมหลังจากรับประทานอาหารคือ ให้ดื่มน้ำชา กาแฟ หรือนมสด สักแก้วนึงก็จะช่วยลดกลิ่นกระเทียมในปากได้
Garlicine
การ์ลิซีน
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กระเทียมผงสกัด ชนิดแคปซูล (ตรา กิฟฟารีน)
ส่วนประกอบสำคัญ :
กระเทียมผงสกัด   400  มก.
วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้งหลังอาหาร
คำเตือน : อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค แต่สามารถเพิ่มโอกาสในการดูแลสุขภาพได้
รหัสสินค้า 41014
ขนาดบรรจุ 100 แคปซูล
ราคา 400 บาท

กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพ www.getgiffgive.com

เอกสารอ้างอิง
1. Garlic: its anticarcinogenic and antitumorigenic properties. Nutr Rev 1996;54(11 Pt 2) : S82-6
2. Hellcobacter pyloriin vitro susceptibility to garlic (Allium sativum) extract. Nutr Cancer 1997;27(2):118-21.
3. Effect of garlic and fish-oil supplementation on serum lipid and lipoprotein concentration in hypercholesterolemic men. Am J Clin Nutr 1997;65(2):445-50.
4. A double-blind crossover study in moderately hypercholesterolemic men that compared the effect of aged garlic extract and placebo administration on blood lipids. Am J Clin Nutr 1996;64(6):866-70.
5. Therapeutic actions of garlic constituents. Med Res Rev 1996;16(1):111-24
6. Effects of garlic extract on platelet aggregation: a randomized placebo-controlled double-blind study. Clin Exp Pharmacol Physiol 1995;22(6-7):414-7.
7. World Journal of Surgery. 19(4) : 621-5: discussion 625-6, 1995 Jul-Aug
8. Annals of Medicine. 27(1) : 63-5, 1995 Feb.
9. Testing garlic for possible anti-ageing effects on long-term growth characteristics, morphology and macromolecular synthesis of human fibroblasts in culture. J Ethnopharmacol 1994;43(2):125-33.
10. A meta-analysis of theeffect of garlic on blood pressure. J Hypertens 1994;12(4):463-8
11. Garlic as a lipid lowering agenta meta-analysis. J R Coll Physicians Lond 1994;28(1):39-45.
12. Effect of garlic on platelet aggregation in patients with increased risk of juvenile ischaemic attack, Eur J Clin Pharmacol 1993;45(4):3334-6.
13. Highlights of the cancer chemoprevention studies in China. Prev Med 1993;22(5):712-22.
14. Effect of garlic on total serum cholesterol. A meta-analysis. Ann Intern Med 1993;119(7 Pt 1):599-605
15. Can garlic lower blood pressure? A pilot study. Pharmacotherapy 1993;13(4):406-7
16. Effects of garlic coated tablets in peripheral arterial occlusive disease. Clin Investig 1993;71(5):383-6.
17. Garlic and its significance for the prevention of cancer in humans: a ctiritical view 60 ref. british Journal of Cancer. 67(3): 424-9, 1993 Mar.
18. The effects of repeated exposure to garlic-flavored milk on the nursling’s behavior. Pediatr Res 1993;34(6):805-8.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *